Happy Memory@Ajanran

วันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2553

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ICT ทางการศึกษา

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอซีทีทางหลักสูตรและการสอน

โลกปัจจุบันเทคโนโลยีไอซีทีเข้ามามีบทบาทต่อสังคม ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้มนุษย์ต้องมีการปรับตัวอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เมื่อพูดถึงการศึกษา เทคโนโลยีไอซีทีได้เข้ามาในระบบการจัดการศึกษา และเกิดการพัฒนาอย่างมากมาย หลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่การศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย สถาบันการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงระดับอุดมศึกษาก็มีความต้องการที่จะใช้เทคโนโลยีไอซีทีในการจัดการหลักสูตรและการสอนอย่างมาก การประยุกต์ไอซีทีเพื่อการพัฒนาหลักสูตรและการสอนนั้นจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาให้มีความทันสมัย และตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอซีทีทางหลักสูตรและการสอนมีรูปแบบ กระบวนการจัดการ และเทคนิควิธีที่หลากหลายและน่าสนใจ ดังนี้
1. การประยุกต์ทางหลักสูตร
1.1 ประเภทวัสดุหลักสูตร
วัสดุหลักสูตรจัดเป็นสิ่งที่เอื้ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ เพื่อเป็นแนวทางให้กับสถานศึกษา ผู้บริหาร ครู และองค์กรที่เกี่ยวข้อง นำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดความเหมาะสมกับบริบทนั้นๆ ได้ เช่น
• การนำไอซีทีมาประยุกต์ใช้ในการจัดทำหลักสูตรสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน ซึ่งนำเสนอให้เห็นถึงมาตรฐานและตัวบ่งชี้สำหรับการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน (http://www.mdk12.org/instruction/ensure/readiness/index.html)
• มาตรฐานและตัวบ่งชี้กลุ่มสาระภาษาอังกฤษ ของนักเรียนเกรด 9-12 ของมลรัฐ Maryland เป็นเครื่องมือที่จะให้ข้อมูลว่าครูควรคาดหวัง และควรจะประเมินนักเรียนอย่างไร
(http://mdk12.org/instruction/clg/English/goal1.html)
• หลักสูตรวิชาภาษาต่างประเทศของนักเรียนเกรด 9-12 ของมลรัฐ Maryland ประกอบด้วยปรัชญาการศึกษา มาตรฐานหลักสูตรภาษาต่างประเทศซึ่งให้ความสำคัญกับหลัก “5 C” ได้แก่ Communication, Culture, Connections, Comparisons และ Communities (http://mdk12.org/instruction/curriculum/foreign/vsc_foreign_introduction.pdf)
• Government of Manitoba นำเสนอหลักสูตรการนำspreadsheet softwareไปประยุกต์ใช้กับการสอน ตัวอย่างเช่น การให้นักเรียนทำการสำรวจในหัวข้อที่นักเรียนสนใจ (งานกลุ่ม) เช่น “อาหารจานโปรด” “วิชาที่ฉันรัก” “จำนวนสมาชิกในครอบครัวของนักเรียนในห้องนี้” เป็นต้น และสุดท้ายให้บันทึกและทำแผนภูมิข้อมูลโดยใช้ spreadsheet software (http://www.edu.gov.mb.ca/k12/tech/imym/6/ict/12pdf)
• Government of Manitoba นำเสนอหลักสูตรการให้นักเรียนใช้email account ที่ไม่ระบุชื่อผู้ใช้(เช่น SJM13-21)ร่วมเล่นกิจกรรม “ใครเอ่ย” โดยครูจะสุ่มแจก email accountให้นักเรียนทุกคน และทุกคนจะส่งคำใบ้อาจจะหมายถึงตัวเอง ดารา ตัวละคร ฯลฯไปยัง email accountที่ได้รับจากครู ในขณะเดียวกันตัวเองก็ต้องเป็นฝ่ายตอบด้วย
(http://www.edu.gov.mb.ca/k12/tech/imym/6/ict/3pdf)
• หลักสูตรซึ่งมีเป้าหมายให้นักเรียนใช้โปรแกรมกราฟฟิค เช่นโปรแกรม Draw หรือ Paint เพื่อประดิษฐ์หัวเรื่องหรือทำปกรายงาน สร้าง แทรก ภาพและกราฟฟิค ลงในงานของตนตลอดปีการศึกษา ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังจะครอบคลุมหลายกลุ่มสาระ (http://www.edu.gov.mb.ca/k12/tech/imym/6/ict/4pdf)
• หลักสูตรซึ่งมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนใช้อินเทอร์เน็ตหาความรู้จากWorld Wide Webให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างการนำไปประยุกต์ใช้กับการสอน เช่นให้นักเรียนหาข้อมูลจากเว็บไซต์ที่ครูเลือกไว้ ประเมินเว็บไซต์และsearch engine ที่แตกต่างกันไป ให้นักเรียนค้นหาข้อมูลโดยใช้คำสำคัญและนำมาอภิปราย ที่สำคัญย้ำเตือนนักเรียนเรื่องมารยาทในการใช้คอมพิวเตอร์ส่วนรวมและข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตมีอีกมากมายนอกเหนือจาก “ภาพยนตร์” “ดารา” “รถแข่ง” ฯลฯ (http://www.edu.gov.mb.ca/k12/tech/imym/6/ict/9pdf)
• หลักสูตร ซึ่งมี เป้าหมายเพื่อให้นักเรียนสร้างงานนำเสนอเกี่ยวกับตนเอง (profile)โดยนำสื่อประสม (Multimedia) มาประยุกต์ใช้กับเรียนการสอน นักเรียนจะได้ฝึกการเขียนสตอรี่บอร์ดและเนื้อหาในแต่ละสไลด์ และอาจขยายผลโดยเชื่อมโยงไปบนเว็บไซต์ของห้องก็ได้ ( http://www.edu.gov.mb.ca/k12/tech/imym/6/ict/8pdf)
• หลักสูตร ซึ่งมี เป้าหมายเพื่อนำซอฟแวร์concept-mappingไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนทำข้อมูลให้มีระบบ เช่นสร้าง concept map และเรียบเรียงข้อมูลชีวประวัติให้เป็นระบบ มีการวางแผนจัดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตให้เป็นหมวดหมู่ ( http://www.edu.gov.mb.ca/k12/tech/imym/6/ict/6pdf)
• แผนการสอน/คู่มือครู ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้อย่างหลากหลาย ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาต่างๆ เช่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย (แผนการสอนเรื่อง รามเกียรติ์)(http://www.st.ac.th/bhatips/research/pl_ramayana.pdf ) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (แผนการสอนวิชาสังคมศึกษาช่วงชั้นที่ 2 เรื่องโครงสร้างการปกครองของไทย)
(http://web1.dara.ac.th/parichart/)

1.2 ประเภทแหล่งเรียนรู้ด้านหลักสูตร
แหล่งเรียนรู้ด้านหลักสูตรจะช่วยในการสนับสนุนให้กลุ่มเป้าหมายสามารถหยิบไป
ใช้เพื่อ ศึกษาสิ่งต่างๆ ได้อย่างหลากหลายและทันสมัยมากขึ้น ตัวอย่างเช่น
• แหล่งเรียนรู้ด้านหลักสูตรไอซีทีสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน (ICT in the Foundation Stage) วัตถุประสงค์เพื่อให้ครูได้ใช้เป็นแหล่งค้นคว้าเกี่ยวกับ หลักสูตรและกิจกรรม หลักสูตรไอซีที เครื่องมือในการสนับสนุนหลักสูตร และข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน (http://www.edu.dudley.gov.uk/foundation/index2.htm)
• แหล่งรวบรวมแผนการสอนในกลุ่มสาระต่างๆ เอาไว้มากมาย เช่น
- กลุ่มสาระสังคมศึกษา (ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา สังคมวิทยาฯลฯ)
http://www.eduref.org/cgi-bin/lessons.cgi/Social_Studies
- กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) แหล่งรวมแผนการสอนจำนวนมาก เมื่อเข้าไปแล้วจะต้องคลิกเลือกวิชา ระดับที่จะสอน และเรื่องที่จะสอน และจะพบตัวอย่างแผนการสอนในเรื่องนั้นให้เลือกดาวน์โหลดอีกจำนวนหนึ่ง(http://www.teachernet.gov.uk/teachingandlearning/resourcematerials/Resources/index.cfm)
• แหล่งนัดพบของครูและนักการศึกษาที่จะได้มาแลกเปลี่ยนความรู้กันโดยใช้ เทคโนโลยีMUVE (multi-user virtual environment) ที่จะเป็นเหมือนห้องchat roomที่เพิ่มความสะดวกขึ้น สามารถคุย แลกเปลี่ยนURL ฯลฯได้ จัดสร้างโดย Teacher Professional Development Institute สหรัฐอเมริกา (http://tappedin.org/tappedin/)
• ศูนย์กลางความรู้แห่งชาติ Thailand Knowledge Center: TKC เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ เพื่อเผยแพร่แก่ประชาชน นิสิต นักศึกษา นักเรียน โดยเน้นการจัดและเผยแพร่ในลักษณะสื่อดิจิตอลในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่ลักษณะตัวอักษร รูปภาพ รวมถึงสื่อมัลติมีเดีย ที่ผู้สอนและผู้เรียนสามารถศึกษาเรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งความรู้นี้ได้อย่างสะดวกทุกเวลา ไม่จำกัด และมี คลังปัญญา ซึ่งเป็นคลังที่สะสมองค์ความรู้ เป็นข้อมูลองค์ความรู้ เช่น บทความ บทความเชิงวิชาการ ตำราเรียนเก่า วิทยานิพนธ์ สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ รวมถึงสารานุกรม บทความจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ฯลฯ (http://www.tkcenter.net/index.aspx?pageid=160&parent=111)
1.3 ประเภทเครื่องมือในการบริหารจัดการหลักสูตร
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอซีทีเพื่อการบริหารจัดการหลักสูตร จะมีประโยชน์อย่างมหาศาลต่อผู้ใช้และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่รู้จักเลือกใช้อย่างรู้ค่า จากการศึกษาตัวอย่างของ The British Association for Early Childhood Education ซึ่งเป็นผู้นำองค์กรอาสาสมัครระดับชาติ สำหรับเด็กก่อนวัยเรียน และผู้ปกครองที่เป็นสมาชิกในประเทศต่าง ๆ เช่น อังกฤษ ไอร์แลนด์เหนือ สก็อตแลนด์ และเวลส์ ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่างประเทศด้านการศึกษาสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนในรูปแบบ online เพื่อสนับสนุนการศึกษาสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนที่ถูกต้อง และมีคุณภาพสูง โดยมีคำแนะนำ และข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการให้การศึกษา และการดูแลเด็กตั้งแต่แรกเกิด ถึง 8 ปี (http://www.early-education.org.uk/)
นอกจากนี้เราจะพบว่ายังมีโครงการหนึ่งที่น่าสนใจเพราะเป็นโครงการการเรียนรู้แบบร่วมมือกันข้ามประเทศ อยู่ในโครงการBridges of learning ขององค์การ UNESCO ทำขึ้นสำหรับ ASEAN schoolnet และประเทศในแอฟริกาโดยใช้ Learning Circle Model จะมีห้องเรียนซึ่งอยู่คนละประเทศ 6-8 ห้องซึ่งจะเรียนผ่านอินเทอร์เน็ต มีคอนเซ็ปต์การเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยมีผู้ประสานงาน(coordinator) คอยกำกับตั้งแต่จัดกลุ่มผู้ที่อยู่ themeความรู้ เดียวกันให้เรียนด้วยกัน จนกระทั่งสุดท้ายที่ทุกคนได้แบ่งปันความรู้ที่ได้ค้นคว้ามา (http://www.school.za/learningcircles/)

2. การประยุกต์ทางด้านการเรียนการสอน
การเรียนการสอน คือ กระบวนการสำคัญของการที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ การรู้จักนำเทคโนโลยีไอซีทีเข้าไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายภายใต้บริบทของความต้องการของผู้เรียน ครู ผู้บริหารสอดคล้องกับเนื้อหาสาระ วัย ระดับความสามารถในการเรียนรู้ได้อย่างคลอบคลุมอย่างหลากหลายทุกด้าน ดังนี้
2.1 ด้านสื่อการเรียนการสอน
2.1.จากการศึกษาตัวอย่างของ Dr.Schutz ได้มีการนำเทคโนโลยีไอซีทีมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเป็นสื่อการเรียนการสอน ในลักษณะเป็น Courseware on – line โดยให้บริการฟรีในรูปแบบ on – line service สำหรับสอนการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สื่อนี้เป็นทรัพยากรที่เด็กสามารถเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษได้ด้วยตัวเอง โดยเริ่มจากการอ่านตัวอักษร A-Z อ่านเป็นคำ เป็นประโยค เพลง (http://www.starfall.com/)
• อีกหนึ่งตัวอย่างในการนำเทคโนโลยีไอซีทีมาประยุกต์ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนสำหรับเด็กอนุบาล คือ การนำกล้องดิจิตอล, Metal detectors หรือกระทั่งซอฟแวร์ เข้ามาเป็นสื่อในการจัดการเรียนการสอนแก่เด็กในระดับก่อนวัยเรียน เพื่อให้เด็กเกิดความรู้ การเข้าใจคำ ภาษา บุคคล สังคม การพัฒนาด้านอารมณ์ และร่างกาย (http://www.surestart.gov.uk/resources/childcareworkers/technology/?promo=technology )
• ด้มีการนำไอซีทีมาประยุกต์ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในรูปของโปรแกรมสื่อประสม ซึ่งประกอบไปด้วยเสียง กราฟฟิก ดนตรี ภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง และวีดีโอ โดยผู้ปกครองไม่จำเป็นต้องมี CD-ROM มากมาย เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้ผู้ปกครอง เพราะ CD-ROM มีราคาแพง (http://www.teacher.gov.uk/teachingandlearning/EYFS/)

2.1.2 กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)
• บทเรียนเรื่องTense มีคำอธิบายเกี่ยวกับ Present simple, Present continuous, Present
perfect, Past simple, Past continuous และ Future simple ( http://www.bic-englishlearning.com/tense2.htm)
• การเรียนภาษาอังกฤษจากข่าวโดยคุณแอนดรูว์ บิกส์ (http://www.andrewbiggs.com/ABA/newspaper.htm)
• บทเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษหลายหัวข้อ แต่จะเน้นเรื่อง tense มากเป็นพิเศษ
(http://www.ego4u.com/en/cram-up/grammar)
• บทเรียนเรื่องการเขียนภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนต่างชาติ มีคำอธิบายเรื่องเครื่องหมายวรรคตอน(punctuation) การเขียนเรียงความ(essay) การเขียนเพื่อวิจารณ์(review) และการเขียนเพื่อนำเสนอ(presentation) (http://www.ego4u.com/en/cram-up/writing)
• บทเรียนเกี่ยวกับคำคัพท์ เนื้อหาเกี่ยวกับตัวเลข เวลา วันที่ วลีที่ใช้บ่อยๆ และคำที่ผู้เรียนมักจะสับสนในการใช้ (http://www.ego4u.com/en/cram-up/vocabulary)
• แบบฝึกทักษะภาษาอังกฤษพร้อมเฉลย มีทั้งหมด 10 บท(http://ict.moph.go.th/English/DTEC/unit1.htm)

2.1.3 กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
• สื่อเสริมการเรียนพระพุทธศาสนาเป็นเนื้อหาเรื่องวันวิสาขบูชา และมีตัวอย่างกิจกรรมที่จะจัดสำหรับนักเรียน (http://www.bbc.co.uk/schools/religion/buddhism/nirvana.shtml)
• การนำเทคโนโลยีมาใช้สำหรับการฝึกกรรมฐานนั้นจะเป็นรูปแบบของการอัดเสียงบรรยายการทำสมาธิในรูปแบบต่างๆทั้งการนั่งสมาธิ การเดินจงกลม หรือเป็นวีดีทัศน์ประกอบการบรรยายก็มี ผู้สนใจสามารถดาวโหลดมาศึกษาได้ด้วยตัวเอง ส่วนใหญ่จะเป็นการสอนการทำอานาปานสติในขั้นต้น
(http://www.dharmaforkids.com/Dharma/meditation/meditation.swf)
• บทเรียนออนไลน์วิชาสังคมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย การเมืองการปกครอง บุคคลสำคัญ เอเชียใต้ และกลุ่มความร่วมมืออื่นๆระหว่างประเทศ
(http://web1.dara.ac.th/parichart/)
• การ์ตูนวีดิทัศน์สอนนักเรียน ในวิชาศาสนาโดยเนื้อหาอาจจะกล่าวได้หลากหลายเช่น ประวัติความเป็นมา ชีวิตหลังความตาย ความไม่เท่าเทียม เหล่านี้แสดงอยู่ในเนื้อหาของการ์ตูน กิจกรรมต่อมาก็ให้นักเรียนจับกลุ่มอภิปรายในหัวขอต่างๆ อย่างเช่นชีวิตหลังความตายมีจริงหรือไม่ ความชั่วคืออะไร คำตอบสิ่งเหล่านี้ให้นำของหลักธรรมของแต่ละศาสนามาเปรียบเทียบคำตอบ เช่น ศาสนาพุทธสอนว่ากรรมจะนำเราไปเกิดใหม่ ตามกฎแห่งกรรม ศาสนาฮินดูก็จะคลายคลึงกัน ส่วนศาสนาคริสต์จะพระเจ้าจะตัดสินบาปของแต่ละคน สามารถdownloadการ์ตูนได้จากเว็บนี้ (http://www.reonline.org.uk/allre/nframe.php?http://www.ratanagiri.org.uk/chanting.htm)

2.1.4 กลุ่มสาระภาษาไทย
• บทเรียนออนไลน์ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ภาษาไทย เช่น
- เรื่องผึ้งน้อยชมดง (http://www2.se-ed.net/oerdee)
- ชนิดของคำและกลุ่มคำ (http://www.tanti.ac.th/E-book_Kru/souwapan/1.files/slide0001.htm)
- รามเกียรติ์ (http://203.146.15.111/goverment/www.rammayana.com/index.htm)
- พระอภัยมณี ( http://203.146.15.111/goverment/www.prauprimanee.com/index.htm)
- นกกางเขน (http://techno.obec.go.th/content/NokKangKhean/index.htm)
- สังข์ทอง (http://techno.obec.go.th/content/SangThong/index.htm)
• บทเรียนฝึกทักษะการอ่านการเขียนภาษาไทย เช่น
- ฝึกอ่าน ก - ฮ ( http://www.thai-language.com/lessons/?les=795812)
- ภาษาศาสตร์ ( http://www.thai-language.com/lessons/?les=795812)
- ฝึกพูดเป็นประโยคอย่างง่าย ( http://www.thai-language.com/?ref=articles )
- ดิกชันนารี่ภาษาไทย ให้ผู้เรียนค้นหาคำศัพท์ภาษาไทยได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น (http://www.thai-language.com/lessons/?les=795812)

2.2ด้านสื่อการวัดประเมินผล
• ISkill assessment จัดเป็นรูปแบบการประเมินผลที่สามารถนำไปใช้ในการประเมินความสามารถในการอ่านเขียนได้ ISkill assessment สามารถช่วยเหลือผู้เรียนให้สามารถใช้ไอซีได้อย่างมีประสิทธิภาพถึงแม้จะต้องใช้เวลาในการทดสอบหลักสูตรก็ตาม ISkill assessment ถือว่าเป็นสื่อด้านการวัดประเมินผลที่ NCSA เลือกใช้สำหรับช่วยเหลือผู้เรียนให้สามารถใช้ไอซีทีได้อย่างมีประสิทธิภาพและยังเป็นสื่อตัวเลือกแรกที่ใช้สำหรับประเมินความสามารถในการอ่านเขียนกับผู้เรียน (http://www.ets.org/portal/site/ets/menuitem.1488512ecfd5b8849a77b13bc3921509/?vgnextoid=fde9af5e44df401VgnVCM10000022f95190RCRC&vgnextchannel=cd7314ee98459010VgnVCM10000022f95190RCRD)
• E – readiness assessment program สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาวางแผนการประเมินผู้เรียนในด้านความรู้ความเข้าใจในทักษะความพร้อมด้านภาษา (http://www.bridges.org/ereadiness assessment)

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้กับกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศที่พบส่วนใหญ่จะเป็นสื่อการวัดประเมินผลด้วยตนเอง(Self-Assessment Modules) เช่น
• สื่อการวัดประเมินผลด้วยตนเองเรื่องไวยากรณ์เบื้องต้น(Basic grammar)
http://www.testprepreview.com/modules/grammarpart1.htm)
• สื่อการวัดประเมินผลด้วยตนเองเรื่องไวยากรณ์ระดับกลาง(Intermediate grammar)
(http://www.testprepreview.com/modules/englishgrammarpart_2.htm)
• สื่อการวัดประเมินผลด้วยตนเองเรื่องไวยากรณ์ขั้นสูง(Advance grammar)
(http://www.testprepreview.com/modules/grammarpart3.htm)
• สื่อการวัดประเมินผลด้วยตนเองเรื่องการอ่านเบื้องต้น(Basic reading comprehension)
(http://www.testprepreview.com/modules/reading1.htm)
• สื่อการวัดประเมินผลด้วยตนเองเรื่องการอ่านเพื่อจับใจความ(Reading for main idea)
http://www.testprepreview.com/modules/readingmainidea.htm)
• สื่อการวัดประเมินผลด้วยตนเองเรื่องการอ่านขั้นสูง(Advance reading comprehension)
(http://www.testprepreview.com/modules/readingtest2.htm)
• สื่อการวัดประเมินผลด้วยตนเองเรื่องการแก้ไขประโยค(Sentence correction)
(http://www.testprepreview.com/modules/sentencecorrectiont.htm)
• สื่อการวัดประเมินผลด้วยตนเองเรื่องการแก้ไขประโยค2(Sentence correction2)
(http://www.testprepreview.com/modules/writing1section2.htm)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น