Happy Memory@Ajanran

วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Mnemonics คืออไร

1. ความหมายของเทคนิคช่วยจำ
เทคนิคช่วยจำ (Mnemonics) ถือว่าเป็นผลงานของมนุษย์ที่สามารถค้นพบวิธีการช่วยจำที่ได้ผลดีมากมานานนับเป็นพัน ๆ ปี เทคนิคช่วยจำเป็นวิธีการที่มนุษย์นิยมนำมาใช้จดจำสิ่งต่าง ๆ ในสมองของตน เพราะสิ่งที่ถูกเก็บไว้ในสมองด้วยวิธีการช่วยจำนั้น สามารถรื้อฟื้นหรือนำออกมาใช้เมื่อใดก็ได้ตามความต้องการ
สมบัติ จำปาเงิน และสำเนียง มณีกาญน์ (2532 : 184) ได้ให้ความหมายของเทคนิคความจำไว้ว่า วิธีที่ช่วยให้ความจำมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
แมคคอร์มิค และเลวิน (Lefrancois. 1995 : 267 ; citing McCoemick and Levin. 1987 : unpaged) กล่าวว่า เทคนิคช่วยจำ คือ วิธีการสำรวจปรับปรุงความจำให้ดีขึ้นอย่างเป็นระบบ
รีด (Reed. 1991 : 166) ได้กล่าวถึงเทคนิคความจำช่วยจำว่า เป็นกลยุทธ์ในการช่วยจำหรือยุทธศาสตร์ที่จะช่วยปรับปรุงการระลึกของเราให้ดีขึ้น
คาร์เนย์ และเลวิน (Sdorow and Rickabaugh. 2002 : 267 ; citing Carney and Levin. 1994 : unpaged) กล่าวว่า เทคนิคช่วยจำ คือ กลวิธีสำหรับรวบรวมข้อมูลข่าวสาร และการจัดเรียบเรียงความจำให้เป็นระบบ เพื่อง่ายต่อการระลึก
ซิมบาร์โด และเจอร์ริก (Zimbardo and Gerrig. 1995 : 367) กล่าวว่า เทคนิคช่วยจำเป็นวิธีการช่วยฟื้นความจำ และจัดกระทำข้อมูลต่าง ๆ ที่กระจัดกระจายให้เป็นระเบียบ
จากความหมายของเทคนิคช่วยจำข้างต้น สรุปได้ว่า เทคนิคช่วยจำคือ วิธีการจัดกระทำต่อข้อมูลที่ต้องการจำอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเก็บรักษาไว้อย่างเป็นระบบ และง่ายต่อการจำและการระลึกออกมาใช้

2. ระบบเทคนิคความจำ
เยทส์, ลูเรีย, ฮันท์ และเลิฟ (สุรางค์ โค้วตระกูล. 2544 : 253 – 257 ; อ้างอิงมาจาก Yates. 1966 ; Luria. 1968 ; Hunt and Love. 1972 : unpaged) กล่าวว่า การสอนเทคนิคในการช่วยจำให้แก่นักเรียน ทำให้นักเรียนที่จะระลึกสิ่งที่เรียนรู้มาในแต่ละบทเรียนได้ดีกว่าการท่องซ้ำ ๆ โดยไม่มีความหมาย ฉะนั้นจึงมีการแนะนำให้ครูสอนเทคนิคในการช่วยความจำให้แก่นักเรียน เพื่อนักเรียนจะได้เก็บสิ่งที่เรียนรู้ไว้ในความทรงจำได้นาน ๆ ซึ่งเทคนิคในการช่วยจำที่ใช้กันมีอยู่ทั้งหมด 6 วิธี คือ
1. การเสียงสัมผัส (Rhymes)
2. การสร้างคำเพื่อช่วยความจำจากอักษรตัวแรกของแต่ละคำ (Acronym)
3. การสร้างประโยคที่มีความหมายจากตัวอักษรตัวแรกของคำ (Acrostic)
4. วิธี Peg Word
5. วิธีโลไซ (Loci)
6. วิธี Key Word

1.การสร้างเสียงสัมผัส (Rhymes) เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เปรียบกับจังหวะ นับว่า
ค่อนข้างใหม่ เชื่อกันว่าในโลกตะวันตกเริ่มจากพิธีกรรมในศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก พระเป็นผู้คิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือประชาชนทั่วไปในการเรียนรู้บทเพลง และคำสอนในรูปคำโต้ตอบเราชาวไทยต่างคุ้นเคยคำสัมผัสที่ช่วยให้เราจดจำ เราทุกคนเป็นหนี้บุญคุณของ ก. เอ๋ย ก. ไก่, ข ไข่ ในเล้า ฯลฯ บางคนอาจจำคำไทยที่ใช้ไม้ม้วนได้ทุกคำเพราะจดจำบทกลอนเก่าต่อไปนี้

ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่ ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ
ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ มิหลงใหลใครขอดู
จะใครลงเรือใบ ดูน้ำใสและปลาปู
สิ่งใดอยู่ในตู้ มิใช่อยู่ใต้ตั่งเตียง
บ้าใบถือใยบัว หูตามัวมาใกล้เคียง
เล่าท่องอย่าละเลี่ยง ยี่สิบม้วนจำจงดี
ทำนองเดียวกันในภาษาอังกฤษก็มีคำกลอนเก่าสำหรับช่วยเด็กหรือผู้ใหญ่ให้จำการใช้ ie หรือ ei ในการสะกดคำศัพท์ว่า I before e except after c, or when sounded like a, as in neighbor or weigh (คำแปล : ไอ มาก่อน อี ยกเว้นตามหลัง ซี หรือเมื่อออกเสียง เอ เหมือนในตัว Neighbor หรือ Weigh ) (เจมส์ ดี วีนแลนด์. 2546 : 146)
2. การสร้างคำเพื่อช่วยความจำจากอักษรตัวแรก (Acronym) การสร้างคำเพื่อช่วยความจำวิธีนี้เป็นการนำเอาอักษรตัวแรกของแต่ละคำที่ต้องการจำมาเขียนเป็นคำใหม่ให้มีความหมายเช่น การจำชื่อทะเลสาบทั้ง 5 ของอเมริกา ได้แก่ ทะเลสาบ Huron, Ontario, Michigan, Erie ,Superior มาเขียนเป็นคำใหม่ว่า Homes หรือการจำทิศทั้ง 8 ของไทย ได้แก่ อุดร, อีสาน, บูรพา, อาคเนย์, ทักษิณ, หรดี, ปัจฉิม และพายัพ มาเขียนเป็นคำใหม่ว่า อุ-อี-บู-อา-ทัก-หอ-ปะ-พา
3. การสร้างประโยค (Acrostic) โดยการนำเอาอักษรตัวแรกของกลุ่มคำหรือสิ่งของมาสร้างเป็นประโยคใหม่ที่มีความหมาย อ่านแล้วเกิดความเข้าใจ เช่น การจำชื่อดาวเคราะห์ทั้ง 9 ดวง ในภาษาอังกฤษ ได้แก่ Mar, Venus, Jupiter, Saturn, Uranus, Neptune และ Pluto มาสร้างเป็นประโยคใหม่เป็น Men Very Easily Make Jugs Serve Useful New Purpose หรือการนำเอาจังหวัดทางภาคเหนือของไทยทั้ง 9 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง แพร่ พะเยา อุตรดิตถ์ และน่าน มาสร้างเป็นประโยค คือ ชิดชัยมิลังเลเพียงพบอนงค์
4. วิธี Peg Word วิธีนี้เรียกเป็นไทยว่า ระบบหัวหมุดเป็นระบบจัดตู้เอกสารของสมองที่รวมเอาพวกคำนามที่เป็นรูปธรรมต่างๆ ที่เราต้องการจำเอาไว้ด้วยกัน คำนามเลือกมาอย่างเจาะจงเพื่อใช้แทนตัวเลข การนำเอาคำและตัวเลขมาผูกเป็นคำสัมผัสเพื่อช่วยให้จำง่าย เช่น การนำเอาคำศัพท์ภาษาอังกฤษ จับคู่กับตัวเลข ได้แก่ One-Bun Two-shoe Three-Tree Four-Show ระหว่างคำในภาษาไทยกับตัวเลข ได้แก่ หนึ่ง-อึ่ง สอง-ซอง สาม-ชาม สี่-ปี่ เป็นต้น
5. วิธีโลไซ (Loci) เป็นวิธีที่ใช้สำหรับการจำและสถานที่หรือตำแหน่งสิ่งของ เพื่อเป็นเครื่องหมายช่วยกำหนดความจำหรือนำเอาคำไปผูกไว้กับสถานที่หรือสิ่งของให้ได้ก่อน แล้วเรียงลำดับความเป็นไปตามสภาพความเป็นจริง เช่น การจำสิ่งของภายในบ้าน ซึ่งภายในบ้านนั้นประกอบด้วย ห้องรับแขก ห้องครัว ห้องนอน ห้องน้ำ และห้องพระ รวมทั้งสิ่งของที่จะจำ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เครื่องประดับตกแต่งหรืออาจจะเป็นเหตุการณ์ ความคิดก็ได้ นำสิ่งของที่จะจำเหล่านั้นไปเชื่อมโยงกับสถานที่ที่เราให้หมายเลขไว้ เมื่อต้องการที่จะนึกถึงสิ่งของที่ต้องการก็เริ่มจากหมายเลข 1,2,3,..ไปเรื่อยๆ
6.วิธี Key Word เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากในการเรียนภาษาต่างประเทศ เป็นการเชื่อมโยงเสียงของคำกับความหมายของคำศัพท์ในภาษาตัวเอง พร้อมกับการจินตนาการไปด้วยเช่น การเชื่อมคำในภาษาอังกฤษกับภาษาไทย คำว่า Potato แปลว่ามันฝรั่ง อ่านว่า โพเทโท ส่วนคำในภาษาไทยที่ใช้เป็น Keyword คือ คำว่า โพ หรือ ต้นโพธิ์ เมื่อเราจำคำว่า Potato ให้เรานึกถึงต้นโพธิ์และมันฝรั่ง โดยจินตนาการว่ามีมันฝรั่งขึ้นอยู่ตามลูกตาเราและมีใบโพธิ์โผล่ขึ้นมา

วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เตรียมสอบอย่างไร

Get Better Test Scores / เทคนิคพิชิตคะแนนสอบ
Written by Wayne F. Perkins / Translated by Little P.
Are you ready to take your final examinations? Do you feel confident you will pass your tests?
น้องๆพร้อมที่จะทำข้อสอบปลายภาคกันมั้ย ? รู้สึกมั่นใจว่าเราจะทำข้อสอบผ่านรึป่าว
Here are five great tips that will help you achieve higher test scores and reduce the stress associated with taking your tests at the same time. As a hypnotherapist, I have worked with thousands of students in, junior high school, high school, and college. I find these tips help all students overcome anxiety caused by test taking, and improve memory and recall. The results are better examination scores.
เรามี 5 เทคนิคดีๆ สำคัญ ที่จะช่วย เพิ่มคะแนนสอบของน้องๆให้ดีขึ้นได้ อีกทั้งช่วยลดความตึงเครียดที่เข้า
มาในขณะนั่งทำข้อสอบ จากประสบการการเป็นผู้รักษาด้วยการสะกดจิตของผู้เขียน เขาได้พบปะทำงานกับนักเรียนในทุกระดับการศึกษา เขาได้ค้นพบเคล็ดลับเหล่านี้เพื่อช่วยนักเรียนของเขา เอาชนะความกังวลที่มาจากการทำข้อสอบ และพัฒนาความจำ การเรียกข้อมูกลับมาใช้เพื่อผลสอบที่เพิ่มสูงขึ้น
1. Get a good night's sleep before the test. Do not stay up all night. Your brain works so much better after a good night's sleep. You will carry a relaxed feeling into the testing classroom or lecture hall.
นอนหลับให้สบายเต็มที่ในคืนก่อนวันที่จะทำข้อสอบ อย่านอนดึก เพราะสมองของเราจะทำงานได้ดีขึ้นหลังจากที่เราได้นอนหลับเต็มที่ ทำให้เราสามารถนำความรู้สึกผ่อนคลายนั้นติดตัวเข้าไปในห้องข้อสอบ
2. Breathe deeply. When you find yourself in the classroom, begin breathing deeply and deliberately. Think to yourself, the test will be easy, and you feel confident in the grade you will attain after taking the test. When the teacher passes out your test and it is in your hand, take three slow deep breathes. Each time you inhale; feel energy entering your body. Feel the energy stimulate your brain. Each time you exhale, picture, and feel all of the tension leaving your lungs.
ตั้งใจสูดหายใจลึกๆ เมื่อนั่งอยู่ในห้องสอบ บอกกับตนเองว่า ข้อสอบจะต้องง่ายแสนง่าย และเรามั่นใจว่าเราจะต้องได้เกรดดีหลังจากทำข้อสอบนี้ เมื่ออาจารย์ส่งกระดาษข้อสอบมาอยู่ในมือเราแล้ว ให้สูดหายใจลึกๆช้าๆ 3 ครั้ง ทุกครั้งที่หายใจเข้า ให้รู้สึกว่าพลังงานได้ผ่านเข้ามาสู่ร่างกายเรา รู้สึกถึงพลังงานที่เข้าไปกระตุ้นสมองเพื่อพร้อมที่จะทำข้อสอบ ทุกครั้งที่หายใจออก นึกภาพและรู้สึกถึงว่าความเครียดได้ออกไปจากปอดเราทั้งหมด
3. Skip the difficult questions. As you begin taking the test, answer all the questions, you are confident in, first. Each time you pass over a hard question; take slow deep breaths again, allowing your body to relax and your brain to focus on the easy questions. You will find you will soon have an urge to go back to the difficult question, answering it. Go ahead and do so at this time.
ข้ามคำถามข้อที่ยากๆ ไปก่อน เมื่อเราเริ่มทำข้อสอบ พยายามลองตอบคำถามในข้อที่เรามั่นใจ แต่ละครั้งที่เราผ่านคำถามข้อที่ยากไปนั้น ให้สูดหายใจลึกๆอีกครั้ง ปล่อยให้ร่างกายผ่อนคลาย ให้สมองมีสมาธิอยู่กับคำถามง่ายๆเราจะพบว่าเรามีแรงผักดันในตัวให้กลับไปสู่ข้อคำถามที่ยากๆได้ ลงมือทำข้อนั้นซะในเวลานั้น

4. Remember, you are smarter than you think. In spite of what your parents said or what your teachers think, you are much smarter than you think. As you relax your body and focus your brain, you will begin to feel more in control of your test results. Everything you have ever read, heard, touched, tasted or smelled is always stored in your brain. As you relax, you will find it easier to remember information.
จำไว้ว่าเราฉลาดกว่าที่เราคิดไว้เองเสียอีก ถึงแม้ว่าพ่อแม่เราหรืออาจารย์จะคิดว่าอย่างไร เราย่อมฉลาดกว่าที่เราคิดไว้ ในขณะที่ร่างกายเราฝ่อนคลาย มีสมาธิอยู่กับสมอง เราจะเริ่มรู้สึกควบคุมผลการสอบนี้ได้มากขึ้น ทุกอย่างที่เราได้อ่าน ได้ยิน ได้สัมผัสมาได้บรรจุไว้ในสมองทั้งหมด เมื่อผ่อนคลาย จะเห็นได้ว่าเราจะจำข้อมูลต่างๆได้ง่ายขึ้น
5. Never cheat on a test. By cheating on a test, not only do you stand a chance of expulsion from school, but also you are sending a message to your brain that you are not smart enough to take a test on your own. What happens next is you lose self-confidence, not only for the test you are currently taking, but all tests and all subjects. This loss in self-confidence is much more damaging and will follow you around longer than expulsion from school, lack of self-confidence will affect personal relationships, jobs, and earning power over a lifetime. Relax and trust yourself to remember the information you need without cheating on tests.
ไม่โกงข้อสอบ การโกงข้อสอบนั้นไม่เพียงแต่จะอยู่ในความเสี่ยงของการถูกขับไล่ออกจากโรงเรียน แต่มันยังเป็นการส่งข้อวามให้สมองนั้นรับรู้ว่าเราไม่ฉลาดพอที่จะทำข้อสอบด้วยตัวเอง จะเกิดอะไรขึ้นถ้าครั้งต่อไปเราขาดความมั่นใจในตัวเอง ไม่ใช่เพียงแค่ข้อสอบที่เราเพิ่งจะทำ แต่เป็นข้อสอบในทุกๆวิชา การสูญเสียความมั่นใจนี้เป็นผลเสียหายและจะคอยตามหลอกหลอนเราไปตลอด ซึ่งร้ายแรงกว่าการถูกขับไล่ออกจากโรงเรียนเสียอีก การขาดความั่นใจจะเกิดผลกระทบต่อความสัมพันธ์ส่วนตัว การงานอาชีพ การหาแรงกำลังใจในชีวิต จงผ่อนคลายและไว้ใจตนเอง ว่าเราจะจำเนื้อหาบทเรียนที่เราอ่านได้โดยไม่โกงข้อสอบ
Summary: Remember to relax when taking tests. Relaxation triggers the brain to remember information more easily and recall it when taking tests. Practice the five steps and watch your test scores rise.
สรุป: จงจำไว้ว่าเราจะต้องผ่อนคลายร่างกายในการทำข้อสอบ เพื่อเป็นตัวชักนำในการผ่อนคลายสมองในการจำข้อมูล และเรียกข้อมูลมาใช้ได้ง่ายขึ้น ต้องฝึกตามขั้นตอนทั้ง5 นี้ แล้วลองดูผลสอบที่เพิ่มขึ้นของน้องๆVocabulary
associated with (PHRV.) ที่เกี่ยวข้องกับ , ที่สัมพันธ์กับ
stay up (PHRV) อดนอน ,นอนดึก
inhale/exhale (VT) หายใจเข้า, หายใจออก
pass over (PHRV) ไม่สนใจ, ข้าม, ผ่าน
expulsion (N) การไล่ออกจากโรงเรียน

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553