Happy Memory@Ajanran

วันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2553

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ICT ทางการศึกษา

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอซีทีทางหลักสูตรและการสอน

โลกปัจจุบันเทคโนโลยีไอซีทีเข้ามามีบทบาทต่อสังคม ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้มนุษย์ต้องมีการปรับตัวอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เมื่อพูดถึงการศึกษา เทคโนโลยีไอซีทีได้เข้ามาในระบบการจัดการศึกษา และเกิดการพัฒนาอย่างมากมาย หลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่การศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย สถาบันการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงระดับอุดมศึกษาก็มีความต้องการที่จะใช้เทคโนโลยีไอซีทีในการจัดการหลักสูตรและการสอนอย่างมาก การประยุกต์ไอซีทีเพื่อการพัฒนาหลักสูตรและการสอนนั้นจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาให้มีความทันสมัย และตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอซีทีทางหลักสูตรและการสอนมีรูปแบบ กระบวนการจัดการ และเทคนิควิธีที่หลากหลายและน่าสนใจ ดังนี้
1. การประยุกต์ทางหลักสูตร
1.1 ประเภทวัสดุหลักสูตร
วัสดุหลักสูตรจัดเป็นสิ่งที่เอื้ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ เพื่อเป็นแนวทางให้กับสถานศึกษา ผู้บริหาร ครู และองค์กรที่เกี่ยวข้อง นำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดความเหมาะสมกับบริบทนั้นๆ ได้ เช่น
• การนำไอซีทีมาประยุกต์ใช้ในการจัดทำหลักสูตรสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน ซึ่งนำเสนอให้เห็นถึงมาตรฐานและตัวบ่งชี้สำหรับการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน (http://www.mdk12.org/instruction/ensure/readiness/index.html)
• มาตรฐานและตัวบ่งชี้กลุ่มสาระภาษาอังกฤษ ของนักเรียนเกรด 9-12 ของมลรัฐ Maryland เป็นเครื่องมือที่จะให้ข้อมูลว่าครูควรคาดหวัง และควรจะประเมินนักเรียนอย่างไร
(http://mdk12.org/instruction/clg/English/goal1.html)
• หลักสูตรวิชาภาษาต่างประเทศของนักเรียนเกรด 9-12 ของมลรัฐ Maryland ประกอบด้วยปรัชญาการศึกษา มาตรฐานหลักสูตรภาษาต่างประเทศซึ่งให้ความสำคัญกับหลัก “5 C” ได้แก่ Communication, Culture, Connections, Comparisons และ Communities (http://mdk12.org/instruction/curriculum/foreign/vsc_foreign_introduction.pdf)
• Government of Manitoba นำเสนอหลักสูตรการนำspreadsheet softwareไปประยุกต์ใช้กับการสอน ตัวอย่างเช่น การให้นักเรียนทำการสำรวจในหัวข้อที่นักเรียนสนใจ (งานกลุ่ม) เช่น “อาหารจานโปรด” “วิชาที่ฉันรัก” “จำนวนสมาชิกในครอบครัวของนักเรียนในห้องนี้” เป็นต้น และสุดท้ายให้บันทึกและทำแผนภูมิข้อมูลโดยใช้ spreadsheet software (http://www.edu.gov.mb.ca/k12/tech/imym/6/ict/12pdf)
• Government of Manitoba นำเสนอหลักสูตรการให้นักเรียนใช้email account ที่ไม่ระบุชื่อผู้ใช้(เช่น SJM13-21)ร่วมเล่นกิจกรรม “ใครเอ่ย” โดยครูจะสุ่มแจก email accountให้นักเรียนทุกคน และทุกคนจะส่งคำใบ้อาจจะหมายถึงตัวเอง ดารา ตัวละคร ฯลฯไปยัง email accountที่ได้รับจากครู ในขณะเดียวกันตัวเองก็ต้องเป็นฝ่ายตอบด้วย
(http://www.edu.gov.mb.ca/k12/tech/imym/6/ict/3pdf)
• หลักสูตรซึ่งมีเป้าหมายให้นักเรียนใช้โปรแกรมกราฟฟิค เช่นโปรแกรม Draw หรือ Paint เพื่อประดิษฐ์หัวเรื่องหรือทำปกรายงาน สร้าง แทรก ภาพและกราฟฟิค ลงในงานของตนตลอดปีการศึกษา ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังจะครอบคลุมหลายกลุ่มสาระ (http://www.edu.gov.mb.ca/k12/tech/imym/6/ict/4pdf)
• หลักสูตรซึ่งมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนใช้อินเทอร์เน็ตหาความรู้จากWorld Wide Webให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างการนำไปประยุกต์ใช้กับการสอน เช่นให้นักเรียนหาข้อมูลจากเว็บไซต์ที่ครูเลือกไว้ ประเมินเว็บไซต์และsearch engine ที่แตกต่างกันไป ให้นักเรียนค้นหาข้อมูลโดยใช้คำสำคัญและนำมาอภิปราย ที่สำคัญย้ำเตือนนักเรียนเรื่องมารยาทในการใช้คอมพิวเตอร์ส่วนรวมและข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตมีอีกมากมายนอกเหนือจาก “ภาพยนตร์” “ดารา” “รถแข่ง” ฯลฯ (http://www.edu.gov.mb.ca/k12/tech/imym/6/ict/9pdf)
• หลักสูตร ซึ่งมี เป้าหมายเพื่อให้นักเรียนสร้างงานนำเสนอเกี่ยวกับตนเอง (profile)โดยนำสื่อประสม (Multimedia) มาประยุกต์ใช้กับเรียนการสอน นักเรียนจะได้ฝึกการเขียนสตอรี่บอร์ดและเนื้อหาในแต่ละสไลด์ และอาจขยายผลโดยเชื่อมโยงไปบนเว็บไซต์ของห้องก็ได้ ( http://www.edu.gov.mb.ca/k12/tech/imym/6/ict/8pdf)
• หลักสูตร ซึ่งมี เป้าหมายเพื่อนำซอฟแวร์concept-mappingไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนทำข้อมูลให้มีระบบ เช่นสร้าง concept map และเรียบเรียงข้อมูลชีวประวัติให้เป็นระบบ มีการวางแผนจัดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตให้เป็นหมวดหมู่ ( http://www.edu.gov.mb.ca/k12/tech/imym/6/ict/6pdf)
• แผนการสอน/คู่มือครู ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้อย่างหลากหลาย ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาต่างๆ เช่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย (แผนการสอนเรื่อง รามเกียรติ์)(http://www.st.ac.th/bhatips/research/pl_ramayana.pdf ) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (แผนการสอนวิชาสังคมศึกษาช่วงชั้นที่ 2 เรื่องโครงสร้างการปกครองของไทย)
(http://web1.dara.ac.th/parichart/)

1.2 ประเภทแหล่งเรียนรู้ด้านหลักสูตร
แหล่งเรียนรู้ด้านหลักสูตรจะช่วยในการสนับสนุนให้กลุ่มเป้าหมายสามารถหยิบไป
ใช้เพื่อ ศึกษาสิ่งต่างๆ ได้อย่างหลากหลายและทันสมัยมากขึ้น ตัวอย่างเช่น
• แหล่งเรียนรู้ด้านหลักสูตรไอซีทีสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน (ICT in the Foundation Stage) วัตถุประสงค์เพื่อให้ครูได้ใช้เป็นแหล่งค้นคว้าเกี่ยวกับ หลักสูตรและกิจกรรม หลักสูตรไอซีที เครื่องมือในการสนับสนุนหลักสูตร และข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน (http://www.edu.dudley.gov.uk/foundation/index2.htm)
• แหล่งรวบรวมแผนการสอนในกลุ่มสาระต่างๆ เอาไว้มากมาย เช่น
- กลุ่มสาระสังคมศึกษา (ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา สังคมวิทยาฯลฯ)
http://www.eduref.org/cgi-bin/lessons.cgi/Social_Studies
- กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) แหล่งรวมแผนการสอนจำนวนมาก เมื่อเข้าไปแล้วจะต้องคลิกเลือกวิชา ระดับที่จะสอน และเรื่องที่จะสอน และจะพบตัวอย่างแผนการสอนในเรื่องนั้นให้เลือกดาวน์โหลดอีกจำนวนหนึ่ง(http://www.teachernet.gov.uk/teachingandlearning/resourcematerials/Resources/index.cfm)
• แหล่งนัดพบของครูและนักการศึกษาที่จะได้มาแลกเปลี่ยนความรู้กันโดยใช้ เทคโนโลยีMUVE (multi-user virtual environment) ที่จะเป็นเหมือนห้องchat roomที่เพิ่มความสะดวกขึ้น สามารถคุย แลกเปลี่ยนURL ฯลฯได้ จัดสร้างโดย Teacher Professional Development Institute สหรัฐอเมริกา (http://tappedin.org/tappedin/)
• ศูนย์กลางความรู้แห่งชาติ Thailand Knowledge Center: TKC เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ เพื่อเผยแพร่แก่ประชาชน นิสิต นักศึกษา นักเรียน โดยเน้นการจัดและเผยแพร่ในลักษณะสื่อดิจิตอลในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่ลักษณะตัวอักษร รูปภาพ รวมถึงสื่อมัลติมีเดีย ที่ผู้สอนและผู้เรียนสามารถศึกษาเรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งความรู้นี้ได้อย่างสะดวกทุกเวลา ไม่จำกัด และมี คลังปัญญา ซึ่งเป็นคลังที่สะสมองค์ความรู้ เป็นข้อมูลองค์ความรู้ เช่น บทความ บทความเชิงวิชาการ ตำราเรียนเก่า วิทยานิพนธ์ สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ รวมถึงสารานุกรม บทความจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ฯลฯ (http://www.tkcenter.net/index.aspx?pageid=160&parent=111)
1.3 ประเภทเครื่องมือในการบริหารจัดการหลักสูตร
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอซีทีเพื่อการบริหารจัดการหลักสูตร จะมีประโยชน์อย่างมหาศาลต่อผู้ใช้และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่รู้จักเลือกใช้อย่างรู้ค่า จากการศึกษาตัวอย่างของ The British Association for Early Childhood Education ซึ่งเป็นผู้นำองค์กรอาสาสมัครระดับชาติ สำหรับเด็กก่อนวัยเรียน และผู้ปกครองที่เป็นสมาชิกในประเทศต่าง ๆ เช่น อังกฤษ ไอร์แลนด์เหนือ สก็อตแลนด์ และเวลส์ ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่างประเทศด้านการศึกษาสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนในรูปแบบ online เพื่อสนับสนุนการศึกษาสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนที่ถูกต้อง และมีคุณภาพสูง โดยมีคำแนะนำ และข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการให้การศึกษา และการดูแลเด็กตั้งแต่แรกเกิด ถึง 8 ปี (http://www.early-education.org.uk/)
นอกจากนี้เราจะพบว่ายังมีโครงการหนึ่งที่น่าสนใจเพราะเป็นโครงการการเรียนรู้แบบร่วมมือกันข้ามประเทศ อยู่ในโครงการBridges of learning ขององค์การ UNESCO ทำขึ้นสำหรับ ASEAN schoolnet และประเทศในแอฟริกาโดยใช้ Learning Circle Model จะมีห้องเรียนซึ่งอยู่คนละประเทศ 6-8 ห้องซึ่งจะเรียนผ่านอินเทอร์เน็ต มีคอนเซ็ปต์การเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยมีผู้ประสานงาน(coordinator) คอยกำกับตั้งแต่จัดกลุ่มผู้ที่อยู่ themeความรู้ เดียวกันให้เรียนด้วยกัน จนกระทั่งสุดท้ายที่ทุกคนได้แบ่งปันความรู้ที่ได้ค้นคว้ามา (http://www.school.za/learningcircles/)

2. การประยุกต์ทางด้านการเรียนการสอน
การเรียนการสอน คือ กระบวนการสำคัญของการที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ การรู้จักนำเทคโนโลยีไอซีทีเข้าไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายภายใต้บริบทของความต้องการของผู้เรียน ครู ผู้บริหารสอดคล้องกับเนื้อหาสาระ วัย ระดับความสามารถในการเรียนรู้ได้อย่างคลอบคลุมอย่างหลากหลายทุกด้าน ดังนี้
2.1 ด้านสื่อการเรียนการสอน
2.1.จากการศึกษาตัวอย่างของ Dr.Schutz ได้มีการนำเทคโนโลยีไอซีทีมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเป็นสื่อการเรียนการสอน ในลักษณะเป็น Courseware on – line โดยให้บริการฟรีในรูปแบบ on – line service สำหรับสอนการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สื่อนี้เป็นทรัพยากรที่เด็กสามารถเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษได้ด้วยตัวเอง โดยเริ่มจากการอ่านตัวอักษร A-Z อ่านเป็นคำ เป็นประโยค เพลง (http://www.starfall.com/)
• อีกหนึ่งตัวอย่างในการนำเทคโนโลยีไอซีทีมาประยุกต์ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนสำหรับเด็กอนุบาล คือ การนำกล้องดิจิตอล, Metal detectors หรือกระทั่งซอฟแวร์ เข้ามาเป็นสื่อในการจัดการเรียนการสอนแก่เด็กในระดับก่อนวัยเรียน เพื่อให้เด็กเกิดความรู้ การเข้าใจคำ ภาษา บุคคล สังคม การพัฒนาด้านอารมณ์ และร่างกาย (http://www.surestart.gov.uk/resources/childcareworkers/technology/?promo=technology )
• ด้มีการนำไอซีทีมาประยุกต์ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในรูปของโปรแกรมสื่อประสม ซึ่งประกอบไปด้วยเสียง กราฟฟิก ดนตรี ภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง และวีดีโอ โดยผู้ปกครองไม่จำเป็นต้องมี CD-ROM มากมาย เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้ผู้ปกครอง เพราะ CD-ROM มีราคาแพง (http://www.teacher.gov.uk/teachingandlearning/EYFS/)

2.1.2 กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)
• บทเรียนเรื่องTense มีคำอธิบายเกี่ยวกับ Present simple, Present continuous, Present
perfect, Past simple, Past continuous และ Future simple ( http://www.bic-englishlearning.com/tense2.htm)
• การเรียนภาษาอังกฤษจากข่าวโดยคุณแอนดรูว์ บิกส์ (http://www.andrewbiggs.com/ABA/newspaper.htm)
• บทเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษหลายหัวข้อ แต่จะเน้นเรื่อง tense มากเป็นพิเศษ
(http://www.ego4u.com/en/cram-up/grammar)
• บทเรียนเรื่องการเขียนภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนต่างชาติ มีคำอธิบายเรื่องเครื่องหมายวรรคตอน(punctuation) การเขียนเรียงความ(essay) การเขียนเพื่อวิจารณ์(review) และการเขียนเพื่อนำเสนอ(presentation) (http://www.ego4u.com/en/cram-up/writing)
• บทเรียนเกี่ยวกับคำคัพท์ เนื้อหาเกี่ยวกับตัวเลข เวลา วันที่ วลีที่ใช้บ่อยๆ และคำที่ผู้เรียนมักจะสับสนในการใช้ (http://www.ego4u.com/en/cram-up/vocabulary)
• แบบฝึกทักษะภาษาอังกฤษพร้อมเฉลย มีทั้งหมด 10 บท(http://ict.moph.go.th/English/DTEC/unit1.htm)

2.1.3 กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
• สื่อเสริมการเรียนพระพุทธศาสนาเป็นเนื้อหาเรื่องวันวิสาขบูชา และมีตัวอย่างกิจกรรมที่จะจัดสำหรับนักเรียน (http://www.bbc.co.uk/schools/religion/buddhism/nirvana.shtml)
• การนำเทคโนโลยีมาใช้สำหรับการฝึกกรรมฐานนั้นจะเป็นรูปแบบของการอัดเสียงบรรยายการทำสมาธิในรูปแบบต่างๆทั้งการนั่งสมาธิ การเดินจงกลม หรือเป็นวีดีทัศน์ประกอบการบรรยายก็มี ผู้สนใจสามารถดาวโหลดมาศึกษาได้ด้วยตัวเอง ส่วนใหญ่จะเป็นการสอนการทำอานาปานสติในขั้นต้น
(http://www.dharmaforkids.com/Dharma/meditation/meditation.swf)
• บทเรียนออนไลน์วิชาสังคมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย การเมืองการปกครอง บุคคลสำคัญ เอเชียใต้ และกลุ่มความร่วมมืออื่นๆระหว่างประเทศ
(http://web1.dara.ac.th/parichart/)
• การ์ตูนวีดิทัศน์สอนนักเรียน ในวิชาศาสนาโดยเนื้อหาอาจจะกล่าวได้หลากหลายเช่น ประวัติความเป็นมา ชีวิตหลังความตาย ความไม่เท่าเทียม เหล่านี้แสดงอยู่ในเนื้อหาของการ์ตูน กิจกรรมต่อมาก็ให้นักเรียนจับกลุ่มอภิปรายในหัวขอต่างๆ อย่างเช่นชีวิตหลังความตายมีจริงหรือไม่ ความชั่วคืออะไร คำตอบสิ่งเหล่านี้ให้นำของหลักธรรมของแต่ละศาสนามาเปรียบเทียบคำตอบ เช่น ศาสนาพุทธสอนว่ากรรมจะนำเราไปเกิดใหม่ ตามกฎแห่งกรรม ศาสนาฮินดูก็จะคลายคลึงกัน ส่วนศาสนาคริสต์จะพระเจ้าจะตัดสินบาปของแต่ละคน สามารถdownloadการ์ตูนได้จากเว็บนี้ (http://www.reonline.org.uk/allre/nframe.php?http://www.ratanagiri.org.uk/chanting.htm)

2.1.4 กลุ่มสาระภาษาไทย
• บทเรียนออนไลน์ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ภาษาไทย เช่น
- เรื่องผึ้งน้อยชมดง (http://www2.se-ed.net/oerdee)
- ชนิดของคำและกลุ่มคำ (http://www.tanti.ac.th/E-book_Kru/souwapan/1.files/slide0001.htm)
- รามเกียรติ์ (http://203.146.15.111/goverment/www.rammayana.com/index.htm)
- พระอภัยมณี ( http://203.146.15.111/goverment/www.prauprimanee.com/index.htm)
- นกกางเขน (http://techno.obec.go.th/content/NokKangKhean/index.htm)
- สังข์ทอง (http://techno.obec.go.th/content/SangThong/index.htm)
• บทเรียนฝึกทักษะการอ่านการเขียนภาษาไทย เช่น
- ฝึกอ่าน ก - ฮ ( http://www.thai-language.com/lessons/?les=795812)
- ภาษาศาสตร์ ( http://www.thai-language.com/lessons/?les=795812)
- ฝึกพูดเป็นประโยคอย่างง่าย ( http://www.thai-language.com/?ref=articles )
- ดิกชันนารี่ภาษาไทย ให้ผู้เรียนค้นหาคำศัพท์ภาษาไทยได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น (http://www.thai-language.com/lessons/?les=795812)

2.2ด้านสื่อการวัดประเมินผล
• ISkill assessment จัดเป็นรูปแบบการประเมินผลที่สามารถนำไปใช้ในการประเมินความสามารถในการอ่านเขียนได้ ISkill assessment สามารถช่วยเหลือผู้เรียนให้สามารถใช้ไอซีได้อย่างมีประสิทธิภาพถึงแม้จะต้องใช้เวลาในการทดสอบหลักสูตรก็ตาม ISkill assessment ถือว่าเป็นสื่อด้านการวัดประเมินผลที่ NCSA เลือกใช้สำหรับช่วยเหลือผู้เรียนให้สามารถใช้ไอซีทีได้อย่างมีประสิทธิภาพและยังเป็นสื่อตัวเลือกแรกที่ใช้สำหรับประเมินความสามารถในการอ่านเขียนกับผู้เรียน (http://www.ets.org/portal/site/ets/menuitem.1488512ecfd5b8849a77b13bc3921509/?vgnextoid=fde9af5e44df401VgnVCM10000022f95190RCRC&vgnextchannel=cd7314ee98459010VgnVCM10000022f95190RCRD)
• E – readiness assessment program สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาวางแผนการประเมินผู้เรียนในด้านความรู้ความเข้าใจในทักษะความพร้อมด้านภาษา (http://www.bridges.org/ereadiness assessment)

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้กับกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศที่พบส่วนใหญ่จะเป็นสื่อการวัดประเมินผลด้วยตนเอง(Self-Assessment Modules) เช่น
• สื่อการวัดประเมินผลด้วยตนเองเรื่องไวยากรณ์เบื้องต้น(Basic grammar)
http://www.testprepreview.com/modules/grammarpart1.htm)
• สื่อการวัดประเมินผลด้วยตนเองเรื่องไวยากรณ์ระดับกลาง(Intermediate grammar)
(http://www.testprepreview.com/modules/englishgrammarpart_2.htm)
• สื่อการวัดประเมินผลด้วยตนเองเรื่องไวยากรณ์ขั้นสูง(Advance grammar)
(http://www.testprepreview.com/modules/grammarpart3.htm)
• สื่อการวัดประเมินผลด้วยตนเองเรื่องการอ่านเบื้องต้น(Basic reading comprehension)
(http://www.testprepreview.com/modules/reading1.htm)
• สื่อการวัดประเมินผลด้วยตนเองเรื่องการอ่านเพื่อจับใจความ(Reading for main idea)
http://www.testprepreview.com/modules/readingmainidea.htm)
• สื่อการวัดประเมินผลด้วยตนเองเรื่องการอ่านขั้นสูง(Advance reading comprehension)
(http://www.testprepreview.com/modules/readingtest2.htm)
• สื่อการวัดประเมินผลด้วยตนเองเรื่องการแก้ไขประโยค(Sentence correction)
(http://www.testprepreview.com/modules/sentencecorrectiont.htm)
• สื่อการวัดประเมินผลด้วยตนเองเรื่องการแก้ไขประโยค2(Sentence correction2)
(http://www.testprepreview.com/modules/writing1section2.htm)

วันเสาร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2553

3 วิธีง่าย ๆ ในการสนทนา

3 Simple Ways to Start a Great Conversation
3 วิธีง่ายๆ ในการเริ่มต้นสนทนา

Written by Peter Murphy Translated by Little P

Many people worry about how to start a conversation. While other people instinctively know how to start a conversation and it comes almost naturally.
หลายมคนมักเป็นกังวลว่าจะเริ่มต้นการสนทนาอย่างไรดี ในขณะที่คนอื่นๆ รู้ได้โดยสัญชาติญาณว่าจะเริ่มอย่างไร และพูดได้อย่างเป็นธรรมชาติอีกด้วย
Are you comfortable that you know how to start a conversation? Do you become tongue tied, not sure what to say? If you do then there are many valuable resources available to help you learn the art of conversation.
น้องๆ รู้สึกสบายๆ ที่รู้ว่าจะเริ่มต้นบทสนทนาอย่างไรไหม หรือน้องๆเป็นประเภทว่าพูดไม่ออก พูดติดขัดไม่แน่ใจว่าจะพูดอะไรไหม ถ้าน้องๆเป็นอย่างนั้น วันนี้เรามีวิธีดีๆ มาช่วยให้น้องๆได้เรียนรู้ถึงศิลปะในการพูด
Here are three simple ways that you can learn how to start a conversation and keep it going.
นี่เป็น3 วิธีง่ายๆ ที่น้องๆจะได้เรียนรู้นำไปใช้
1. Be confident in yourself.มั่นใจในตัวเอง
Consider that the other person has an interest in what it is you have to say. Sometimes people have trouble with conversation because of a lack of confidence in themselves.
ลองคิดซิว่าคนอื่นๆ จะสนใจในสิ่งที่เรากำลังจะพูด บางครั้งคนเราก็เกิดปัญหาในการเริ่มต้นพูดคุยเพราะเขาขาดความมั่นใจ
The irony is that even if you are only pretending to be confident other people will assume that you are confident. They will then be more responsive to what you say and it becomes easier to engage them in conversation.
ถึงแม้ว่าเราเพียงแต่แกล้งทำเป็นว่าเรามีความมั่นใจ ผู้คนก็จะมองว่าเราเป็นคนมีความมั่นใจ พวกเขาจะตอบสนองต่อสิ่งที่เราพูด และง่ายในการทำให้พวกเขามีส่วนร่วมในบทสนทนา

2. Think of a compliment. เอ่ยปากชม
A great way to start a conversation is by complimenting someone to. For example, you might say, "By the way Susan that was an excellent presentation you gave today." Tell someone you like his new car, his shoes, his hair or the way he talks and you will have set the scene for a friendly chat.
เป็นวิธีดีที่จะเริ่มพูดคุย โดยการกล่าวชมเชยคู่สนทนา ตัวอย่างเช่น เราอาจจะกล่าวชม ตัวอย่าง เช่น “ ซูซาน วันนี้คุณนำเสนองานได้ยอดเยี่ยมมากทีเดียว ” หรือโดยการบอกเขาว่าเราชอบรถคันใหม่ของเขา รองเท้าของเขา ทรงผม หรือเวลาเขาพูดคุย หรืออะไรก็ตามจะทำให้เกิดการพูดคุยอย่างเป็นมิตรมากขึ้น
It is very hard for anyone to resist positive feedback. We all love to hear sincere compliments and we then feel compelled to treat the giver of the compliment favorably.
มันยากมากสำหรับใครก็ตามที่จะต่อต้านคำชมเชย เราทุกคนต้องการได้ยินคำชมเชยที่จริงใจและ รู้สึกถูกกระตุ้นให้ปฏิบัติเป็นอย่างดีต่อผู้ให้คำชม
3. Ask the other person questions about themselves.ถามคำถามเกี่ยวกับเรื่องของพวกเขาเอง
There's no better way to start a conversation than ask someone a question about themselves. Most people love to talk about themselves. If you ask someone a question about themselves you will most likely not have to do any other talking throughout the rest of the conversation.
ไม่มีวิธีไหนที่ดีไปกว่าการเริ่มถามเรื่องราวถึงถึงคู่สนทนากับเรื่องของเขาเอง เพราะคนส่วนใหญ่มักชอบพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องตนเอง ถ้าเราถามถึงเรื่องของพวกเขา ก็อาจจะมีแนวโน้มไปได้ว่าเราจะไม่ได้พูดอะไรอย่างอื่นเลยก็ได้เลยในบทสนทนา
And most likely that personal will leave the conversation thinking very highly of you because you cared so much about them and their interests. They will certainly consider that you are a great conversationalist even though you may have said very little.
และเป็นไปได้ที่บุคคลนั้นจะคิดว่าคุณเป็นคู่สนทนาที่ดีมาก ถึงแม้ว่าคุณจะได้พูดไม่กี่คำ เพราะคุณห่วงใยและสนใจพวกเขา

These three simple tips are all you need to learn how to start a conversation and keep it going. Not only are the above tips helpful in learning how to start a conversation but they will also work in keeping a conversation flowing.
ทั้งหมดนี้ก็เป็นเคล็ดลับ เล็กๆน้อยที่เราจะต้องเรียนรู้ในการเริ่มสนทนา และฝึก ไม่ใช่เพียงแค่รู้วิธีข้างบนนั้น เราจะต้องพูดออกมาด้วย

For example, if the conversation seems to come to an end prematurely ask another question or make another compliment.
ตัวอย่างเช่น ถ้าน้องๆเห็นว่าบทสนทนาใกล้จะจบลงเร็วกว่าที่คาดไว้ ก็ลองถามอีกซักคำถาม หรือเอ่ยปากชมอีกซักนิด

All you need to do now is get started!
สิ่งที่ต้องทำตอนนี้คือ เริ่มลงมือเลย!

Vocabulary
Compliment (n) คำชมเชยResponsive (adj) ซึ่งโต้ตอบ ตอบสนองengage in (phrv) ซึ่งทำให้มีส่วนร่วมกับ
Prematurely (adj) ก่อนกำหนด

All the best,

Ajanran

เทคนิคอ่านเร็ว

การอ่านเป็นการสื่อสารแบบรับข้อมูล (Acceptation) ซึ่งข้อมูลมีมากมายยากที่จะรับเอาหมดทุกประเด็น วันนี้มีเทคนิคการอ่านเร็วมาฝาก มีประโยชน์สำหรับนักอ่านมาก สามารถเก็บข้อมูลได้ครบและประหยัดเวลา เทคนิคการอ่านเร็วขั้นเทพ 4 ขั้นตอน

Written by Kenth Nasstrom Translated by Little P



Many people, particularly students, would love to be able to absorb information faster. But before retaining information, they have to go through the first stage of learning, which is reading.

คนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียน ย่อมต้องการที่จะอ่านและดูดรับเอาข้อมูลให้ได้เร็ว แต่ก่อนที่จะจดจำข้อมูล เราจะต้องผ่านด่านแรกไปให้ได้ก่อน ซึ่งนั่นก็คือการอ่าน

For many individuals who are pressed for time, speed reading has become a necessity. However, it's not just the reading part that is important. Equally essential is for the reader to fully understand the words coming out from the book or paper.

บางคนถูกจำกัดเวลาในการอ่าน การอ่านได้เร้วจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม ส่วนสำคัญไม่ได้อยู่ที่การอ่านแต่เพียงอย่างเดียว แต่ความเข้าใจจากสิ่งที่ได้อ่านในหนังสือนั้น มีความสำคัญพอๆกัน

Speed reading can be learned from courses where you learn the techniques and how to train. It is then important that you keep practicing your speed reading as well as reading comprehension.

การอ่านเร็วสามารถเรียนได้จากคอร์ส ที่เราเรียนเทคนิคในการฝึกอ่าน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือเราจะต้องฝึกอ่านให้เร็วควบคู่กับการทำความเข้าใจในการอ่าน

Here are some great tips to read and comprehend faster.

นี่เป็นเคล็ดลับดีๆที่ทำให้เราอ่านเร็วและเข้าใจได้เร็วยิ่งขึ้น

1) Relax. ผ่อนคลาย

If you're in the stressed mode, it is much more difficult to concentrate; hence, it is a lot harder for the information to sink in.

ถ้าเรากำลังเกิดความตึงเครียด เป็นการยากที่จะมีสมาธิอยู่กับสิ่งที่เราอ่าน จึงเป็นการยากที่จะรับข้อมูลใหม่ๆ

2) Know what you want. รู้ว่าเราต้องการอะไร

Focus on the areas that you really need to learn. Some people read all parts of a book, when all they need to know is a specific chapter.

ให้ความสนใจต่อสิ่งที่เราต้องการเรียนรู้จริงๆ คนบางคนอ่านทุกส่วนที่มีอยู่ในหนังสือ ทั้งๆที่สิ่งที่ต้องการจะรู้มีเพียงไม่กี่บทเท่านั้น

3) Prioritiseจัดลำดับ

If you need to find out about a certain subject, go to the Table of Contents and search for the heading that best suits your requirements. If you need to learn more, then adjust accordingly. The important thing is to weed out the stuff that you don't currently need.

ถ้าเราอยากจะค้นหาสาระใด ๆ เราควร ลองดูสารบัญและเลือกหัวข้อที่ตรงกับความต้องการของเราก่อน ถ้าเราอยากจะเรียนยรู้มากขึ้นอีก ดังนั้นจึงค่อยปรับเปลี่ยน สิ่งสำคัญคือต้องกำจัดเอาสิ่งที่เราไม่ต้องการออกไป

4) Get rid of the structure words. ขจัดคำที่เป็นส่วนประกอบ

Did you know that around 60% of the words we read are structure words? Examples are the words "the, or, and." They are essential in the structure of the sentences; but when you ignore them, they basically mean the same thing. They only serve to beautify, yet you can understand what you are reading even without them. Try not to focus too much attention on structure words.

น้องๆรู้ไหมว่า 60%ของคำที่เราอ่านเป็นโครงสร้างของคำทั้งหมด อย่างเช่นคำว่า the, or, and คำพวกนี้มีความสำคัญ ในโครงสร้างของประโยค เพื่อทำให้ประโยคดูไพเราะ สวยงาม แต่ถ้าเราละเลยมัน เราก็ยังเข้าใจในสิ่งที่เราอ่าน เราจึงไม่ต้องสนใจโครงสร้างของคำมากนัก

5) Practise, practise, practise. ฝึกมากๆๆๆ

When I started exercising with weights, I could only lift the lighter ones. As the time went by, I slowly added more and more weights as my body adjusted and became more comfortable lifting heavier ones.

เมื่อเราเริ่มต้นออกกำลังกาย อย่างเช่นการยกน้ำหนัก เป็นธรรมดาที่เราจะยกข้างที่เบากว่าได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปนานวันพร้อมๆกับการฝึกฝน เราก็ค่อยๆเพิ่มจำนวนน้ำหนักมากขึ้นเรื่อยๆ ร่ายการของเราก็สามารปรับเและรับน้ำหนักได้มากขึ้น

The same concept goes for speed reading. Set a goal. Figure out how fast you can read, then create a plan to increase your ability.

ใช้หลักการเดียวกันกับการอ่านเร็ว เราต้องตั้งเป้าหมาย คาดหมายว่าเราจะอ่านได้เร็วแค่ไหน จากนั้นลองคิดหาทางเพิ่มความสามารถในการอ่านให้เร็วขึ้นเรื่อยๆ

If you can read 200 words per minute, set a goal to read 250 words a minute. After accomplishing this feat, set a goal to read 300 words per minute, and keep increasing the goal as your speed improves.

ถ้าน้องๆสามารถอ่านหนังสือได้ 200 คำต่อนาที ก็ลองตั้งเป้าหมายอ่านให้ได้ 250 คำต่อนาที ถ้าทำได้สำเร็จ ก็เพิ่มเป้าหมายเป็น 300 คำต่อนาที และเพิ่มเป้าหมายความเร็วไปเรื่อยๆ


Vocabulary
adjust (v) ปรับตัว ,ปรับเปลี่ยนaccomplish (v) ทำสำเร็จ, บรรลุผลweed out (PHRV) ถอนทิ้งfeat (n.) โครงหลัก



All the best,

Ajanran

Phrasal Verb; turn

turn /t3:n/ verb คำกริยานี้มีหลายความหมาย ดังนี้
1 MOVE YOUR BODY หมุน หรือ หัน ร่างกาย [I] to move your body so that you are facing a different direction
Ricky turned and saw Sue standing in the doorway

2 CHANGE DIRECTION เปลี่ยนทิศทาง [I,T] to change direction when you are moving, or to make a car do this
Turn left at the traffic lights.

3 CHANGE POSITION เปลี่ยนตำแหน่ง [T] to move something round so that it faces a different direction
Ella turned the cup to hide the crack in it.

4 GO ROUND หมุนรอบ ๆ [I,T] to move around a central point in a circle, or to make something do this
Turn the steering wheel as quickly as you can.
แต่เมื่อนำกริยาเดี่ยว8eนี้มาบวกกับprepositionsหลาย ๆ ตัว ความหมายก็เปลี่ยนไป เรียกกริยานี้ว่า phrasal verb

มีเทคนิคช่วยจำความหมายของคำศัพท์ที่ขึ้นต้นด้วย turn มาฝากให้ท่องจำอย่างมีความสุขนะคะ โดยเฉพาะท่านที่ชอบร้องเพลงโฆษณาเบียร์ช้าง ของพี่แอ๊ด คาราบาว และร้องได้จนติดปาก เพลงมีเนื้อหาว่า ...
*** เบียร์ช้างเป็นเบียร์ตัวใหญ่ เบียร์ของไทย เบียร์ไทยเหรียรญทอง
เป็นขัญใจของพ่อแม่พี่น้อง ช้างร้องช้างร้อง ว่าอยากลองกินเบียร์
กินแล้วพรากภูมิใจ...เบีนร์คนไทยทำเอง.***

ทีนี้ก็เป็นทีของการร้องเพลงจำคำศัพท์กันละ

turn out กลายเป็น, ปรากฎ turn back ถอยลด torn off ปิดไฟ
toru over หมุนคว่ำ พลิกหงาย turn against กลายเป็นศัตรู (ได้ไง)
turn down ลดไป, ปฏิเสธ, ไม่เอา
turn in ให้ ส่งคืน...ส่วน turn on นั้นเปิดไฟ

ฝึกร้องซัก 2-3 รอบ เมื่อติดปากแล้ว ก็ติดใจเองหละนะ
ติดใจแล้ว ก็กลายเป็นความทรงจำที่มีความสุข ไม่ลืม
การเรียนภาษา มันเป็นอะไรที่ต้องการความจำเป็นตามสถานการณ์
ไม่ต้องเก่งวันนี้หรอก ให้เวลาสักหน่อย
เมื่อสถานการณ์ชีวิตมาถึง นำความทรงจำที่เราบันทึกไว้ออกมาใช้ก็แล้วกันจ๊ะ

All the Best,
Ajanran

วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553

นวัตกรรมทางการศึกษา

นวัตกรรมเทคโนโลยีการศึกษาที่ควรรู้
Learning Object, e-Learning, Blended-Learning, U-Learning, M-Learning คืออะไร วันนี้จะพาไปทำความรู้จักกันค่ะ
Learning object ชื่อย่อว่า LO หรือ RLO (Reusable Learning object) เป็นสื่อการสอนดิจิตอล หรือ หน่วยการสอนขนาดเล็กที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่โดยการจัดเรียงลำดับเนื้อหาใหม่เกิดเป็นบทเรียนเรื่องใหม่ขึ้น โดยมีองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ วัตถุประสงค์การเรียนรู้ หน่วยการเรียน และแบบทดสอบ ลักษณะของ Learning Object จะเป็นสื่อที่ออกแบบและสร้างเป็น “ก้อน” (Chunks) เล็กๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มจำนวนสถานการณ์ของการเรียนรู้ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ และสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้สามารถใช้ซ้ำ (reusability) ทำงานร่วมกัน (interoperability) มีความคงทน (durability) และเข้าถึงได้ง่าย (accessibility)
e-Learning คือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภททั้ง Online และ Offline เป็นช่องทางในการนำส่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้นั่นเอง
Blended-Learning คือ การจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน โดยเรียนผ่าน e-Learning ผสมผสานกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยมีสัดส่วนในการเรียนอาจจะเรียนในห้องเรียน 60% เรียนบนเว็บ 40% ไม่ได้มีกฎตายตัวว่าจะต้องผสมผสานกันเท่าใด ขึ้นอยู่กับวิชาที่เรียนด้วยค่ะ
M-Learning มาจากคำว่า Mobile Learning หมายถึง การเรียนรู้แบบเคลื่อนที่ (mobile learning) เป็นการจัดการเรียนการสอน หรือการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านคอร์สแวร์ที่นำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียน การสอนผ่านเทคโนโลยีเครือข่ายแบบไร้สาย (wireless telecommunication network) และ เทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่และทุกเวลา โดยผ่านสัญญาณแบบไร้สายที่มีบริการตามจุดต่างๆของมหาวิทยาลัยและภายนอก มหาวิทยาลัย (Access Point) ผู้เรียนและผู้สอนใช้อุปกรณ์ประเภทเคลื่อนที่ได้ที่มีความสามารถในการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบไร้สาย (Wireless Lan) ได้แก่ Notebook Computer, Portable computer, PDA/PAD Phone, Tablet PC, Cell Phones /Cellular Phone ในการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหรือการเข้าถึงข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ด้วยผู้เรียนเอง
U-Learning มาจากคำว่า Ubiquitous learning (อ่านว่า ยูบิควิตัส) หมายถึงการมีคอมพิวเตอร์อยู่ทุกหนทุกแห่ง เป็นสภาพแวดล้อมของสังคมในอนาคต ที่ต่อไปจะมีอินเทอร์เน็ตบนตู้เย็น เครื่องซักผ้า ซึ่งปัจจุบันได้มีการพัฒนาแล้วในบริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า นั่นก็หมายความว่าในอนาคตผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกแห่งหนนั่นเอง สถานศึกษาไม่จำกัดอยู่แค่ที่ตั้ง แต่ยังหมายถึงสถานที่ๆสามารถเข้าถึงได้จากทุกหนแห่งอีกด้วย
**M-Learning กับ U-Learning หลายท่านอาจจะสงสัยว่า 2 คำนี้ต่างกันอย่างไร
คำตอบ M-Learning หมายถึง การเรียนรู้ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ แต่ U-Learning หมายถึง สภาพแวดล้อมที่ทำให้สามารถเกิดเรียนรู้ได้ทุกหนแห่ง U-Learning = e-Learning + m-Learning

วันจันทร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553

คุณลำไยเจอภัยพิบัติ(Disasters)

น้องนก สุภาพร ร้องเพลงคุณลำไยไว้หลายปีมาแล้ว แต่ท่วงทำนองและเนื้อของเพลงยังอยู่ในความทรงจำของเราท่านจนถึงบัดนี้
เมื่อดนตรี intro เราก็ตั้งท่าจะร้องด้วยคำขึ้นว่า....ยังจำไม่เคยลืมเลือน คอยเตือนตัวเอาไว้ ...
นำเพลงฮิต ๆ อย่างนี้มาดัดแปลงเนื้อเพื่อจดจำคำศัพท์เกี่ยวกับภัยพิบัติซึ่งกำลังเกิดกับประเทศต่าง ๆ เช่น earthquake=
แผ่นดินไหวที่ไฮติ flood = น้ำท่วมแถว ๆ ยุโรป แต่บ้านเมืองเราที่นี่ประเทศไทย โชคดีมากที่ไม่ค่อยมีภัยพิบัติธรรมชาติ = natural disaster แต่ช่วงนี้อาจต้องระวังภัยจากการจลาจลไว้บ้าง เช่นไฟไหม้ fire หรือการวางระเบิด bombing / explosion แต่ตอนนี้ มาม๊ามาร้องเพลงคุณลำไยเจอภัยพิบัติ กันเถอะ

ยังจำไม่เคยลืมเลือน
Warnเตือน ตัวเองเอาไว้
ถ้าเจออุทกภัย flood,
Destruction คือการทำลาย
Earthquake คือแผ่นดินไหว
ส่วนภูเขาไฟคือ volcanic
ฉันอยากรู้ famine คือความขาดแคลน
ความแห้งแล้งเราเรียกมันว่า a draught
(พูด) Hurricane , Tornado , Cyclone ,
มัน swirling ทำให้ nightmare
Lighting คือสายฟ้าแลบ
ส่วน avalanche หิมะถล่ม
Eruption คือการระเบิด
สร้างความวิบัติ disaster
Epidemic, plague, disease คือโรคระบาด
ทำให้ damage.

Note ;
1. swirl (v.) move around and around quickly พัด, หมุนติ้ว
2. nightmare (n.) a very unpleasant experience ฝันร้าย

วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Mnemonics คืออไร

1. ความหมายของเทคนิคช่วยจำ
เทคนิคช่วยจำ (Mnemonics) ถือว่าเป็นผลงานของมนุษย์ที่สามารถค้นพบวิธีการช่วยจำที่ได้ผลดีมากมานานนับเป็นพัน ๆ ปี เทคนิคช่วยจำเป็นวิธีการที่มนุษย์นิยมนำมาใช้จดจำสิ่งต่าง ๆ ในสมองของตน เพราะสิ่งที่ถูกเก็บไว้ในสมองด้วยวิธีการช่วยจำนั้น สามารถรื้อฟื้นหรือนำออกมาใช้เมื่อใดก็ได้ตามความต้องการ
สมบัติ จำปาเงิน และสำเนียง มณีกาญน์ (2532 : 184) ได้ให้ความหมายของเทคนิคความจำไว้ว่า วิธีที่ช่วยให้ความจำมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
แมคคอร์มิค และเลวิน (Lefrancois. 1995 : 267 ; citing McCoemick and Levin. 1987 : unpaged) กล่าวว่า เทคนิคช่วยจำ คือ วิธีการสำรวจปรับปรุงความจำให้ดีขึ้นอย่างเป็นระบบ
รีด (Reed. 1991 : 166) ได้กล่าวถึงเทคนิคความจำช่วยจำว่า เป็นกลยุทธ์ในการช่วยจำหรือยุทธศาสตร์ที่จะช่วยปรับปรุงการระลึกของเราให้ดีขึ้น
คาร์เนย์ และเลวิน (Sdorow and Rickabaugh. 2002 : 267 ; citing Carney and Levin. 1994 : unpaged) กล่าวว่า เทคนิคช่วยจำ คือ กลวิธีสำหรับรวบรวมข้อมูลข่าวสาร และการจัดเรียบเรียงความจำให้เป็นระบบ เพื่อง่ายต่อการระลึก
ซิมบาร์โด และเจอร์ริก (Zimbardo and Gerrig. 1995 : 367) กล่าวว่า เทคนิคช่วยจำเป็นวิธีการช่วยฟื้นความจำ และจัดกระทำข้อมูลต่าง ๆ ที่กระจัดกระจายให้เป็นระเบียบ
จากความหมายของเทคนิคช่วยจำข้างต้น สรุปได้ว่า เทคนิคช่วยจำคือ วิธีการจัดกระทำต่อข้อมูลที่ต้องการจำอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเก็บรักษาไว้อย่างเป็นระบบ และง่ายต่อการจำและการระลึกออกมาใช้

2. ระบบเทคนิคความจำ
เยทส์, ลูเรีย, ฮันท์ และเลิฟ (สุรางค์ โค้วตระกูล. 2544 : 253 – 257 ; อ้างอิงมาจาก Yates. 1966 ; Luria. 1968 ; Hunt and Love. 1972 : unpaged) กล่าวว่า การสอนเทคนิคในการช่วยจำให้แก่นักเรียน ทำให้นักเรียนที่จะระลึกสิ่งที่เรียนรู้มาในแต่ละบทเรียนได้ดีกว่าการท่องซ้ำ ๆ โดยไม่มีความหมาย ฉะนั้นจึงมีการแนะนำให้ครูสอนเทคนิคในการช่วยความจำให้แก่นักเรียน เพื่อนักเรียนจะได้เก็บสิ่งที่เรียนรู้ไว้ในความทรงจำได้นาน ๆ ซึ่งเทคนิคในการช่วยจำที่ใช้กันมีอยู่ทั้งหมด 6 วิธี คือ
1. การเสียงสัมผัส (Rhymes)
2. การสร้างคำเพื่อช่วยความจำจากอักษรตัวแรกของแต่ละคำ (Acronym)
3. การสร้างประโยคที่มีความหมายจากตัวอักษรตัวแรกของคำ (Acrostic)
4. วิธี Peg Word
5. วิธีโลไซ (Loci)
6. วิธี Key Word

1.การสร้างเสียงสัมผัส (Rhymes) เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เปรียบกับจังหวะ นับว่า
ค่อนข้างใหม่ เชื่อกันว่าในโลกตะวันตกเริ่มจากพิธีกรรมในศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก พระเป็นผู้คิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือประชาชนทั่วไปในการเรียนรู้บทเพลง และคำสอนในรูปคำโต้ตอบเราชาวไทยต่างคุ้นเคยคำสัมผัสที่ช่วยให้เราจดจำ เราทุกคนเป็นหนี้บุญคุณของ ก. เอ๋ย ก. ไก่, ข ไข่ ในเล้า ฯลฯ บางคนอาจจำคำไทยที่ใช้ไม้ม้วนได้ทุกคำเพราะจดจำบทกลอนเก่าต่อไปนี้

ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่ ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ
ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ มิหลงใหลใครขอดู
จะใครลงเรือใบ ดูน้ำใสและปลาปู
สิ่งใดอยู่ในตู้ มิใช่อยู่ใต้ตั่งเตียง
บ้าใบถือใยบัว หูตามัวมาใกล้เคียง
เล่าท่องอย่าละเลี่ยง ยี่สิบม้วนจำจงดี
ทำนองเดียวกันในภาษาอังกฤษก็มีคำกลอนเก่าสำหรับช่วยเด็กหรือผู้ใหญ่ให้จำการใช้ ie หรือ ei ในการสะกดคำศัพท์ว่า I before e except after c, or when sounded like a, as in neighbor or weigh (คำแปล : ไอ มาก่อน อี ยกเว้นตามหลัง ซี หรือเมื่อออกเสียง เอ เหมือนในตัว Neighbor หรือ Weigh ) (เจมส์ ดี วีนแลนด์. 2546 : 146)
2. การสร้างคำเพื่อช่วยความจำจากอักษรตัวแรก (Acronym) การสร้างคำเพื่อช่วยความจำวิธีนี้เป็นการนำเอาอักษรตัวแรกของแต่ละคำที่ต้องการจำมาเขียนเป็นคำใหม่ให้มีความหมายเช่น การจำชื่อทะเลสาบทั้ง 5 ของอเมริกา ได้แก่ ทะเลสาบ Huron, Ontario, Michigan, Erie ,Superior มาเขียนเป็นคำใหม่ว่า Homes หรือการจำทิศทั้ง 8 ของไทย ได้แก่ อุดร, อีสาน, บูรพา, อาคเนย์, ทักษิณ, หรดี, ปัจฉิม และพายัพ มาเขียนเป็นคำใหม่ว่า อุ-อี-บู-อา-ทัก-หอ-ปะ-พา
3. การสร้างประโยค (Acrostic) โดยการนำเอาอักษรตัวแรกของกลุ่มคำหรือสิ่งของมาสร้างเป็นประโยคใหม่ที่มีความหมาย อ่านแล้วเกิดความเข้าใจ เช่น การจำชื่อดาวเคราะห์ทั้ง 9 ดวง ในภาษาอังกฤษ ได้แก่ Mar, Venus, Jupiter, Saturn, Uranus, Neptune และ Pluto มาสร้างเป็นประโยคใหม่เป็น Men Very Easily Make Jugs Serve Useful New Purpose หรือการนำเอาจังหวัดทางภาคเหนือของไทยทั้ง 9 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง แพร่ พะเยา อุตรดิตถ์ และน่าน มาสร้างเป็นประโยค คือ ชิดชัยมิลังเลเพียงพบอนงค์
4. วิธี Peg Word วิธีนี้เรียกเป็นไทยว่า ระบบหัวหมุดเป็นระบบจัดตู้เอกสารของสมองที่รวมเอาพวกคำนามที่เป็นรูปธรรมต่างๆ ที่เราต้องการจำเอาไว้ด้วยกัน คำนามเลือกมาอย่างเจาะจงเพื่อใช้แทนตัวเลข การนำเอาคำและตัวเลขมาผูกเป็นคำสัมผัสเพื่อช่วยให้จำง่าย เช่น การนำเอาคำศัพท์ภาษาอังกฤษ จับคู่กับตัวเลข ได้แก่ One-Bun Two-shoe Three-Tree Four-Show ระหว่างคำในภาษาไทยกับตัวเลข ได้แก่ หนึ่ง-อึ่ง สอง-ซอง สาม-ชาม สี่-ปี่ เป็นต้น
5. วิธีโลไซ (Loci) เป็นวิธีที่ใช้สำหรับการจำและสถานที่หรือตำแหน่งสิ่งของ เพื่อเป็นเครื่องหมายช่วยกำหนดความจำหรือนำเอาคำไปผูกไว้กับสถานที่หรือสิ่งของให้ได้ก่อน แล้วเรียงลำดับความเป็นไปตามสภาพความเป็นจริง เช่น การจำสิ่งของภายในบ้าน ซึ่งภายในบ้านนั้นประกอบด้วย ห้องรับแขก ห้องครัว ห้องนอน ห้องน้ำ และห้องพระ รวมทั้งสิ่งของที่จะจำ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เครื่องประดับตกแต่งหรืออาจจะเป็นเหตุการณ์ ความคิดก็ได้ นำสิ่งของที่จะจำเหล่านั้นไปเชื่อมโยงกับสถานที่ที่เราให้หมายเลขไว้ เมื่อต้องการที่จะนึกถึงสิ่งของที่ต้องการก็เริ่มจากหมายเลข 1,2,3,..ไปเรื่อยๆ
6.วิธี Key Word เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากในการเรียนภาษาต่างประเทศ เป็นการเชื่อมโยงเสียงของคำกับความหมายของคำศัพท์ในภาษาตัวเอง พร้อมกับการจินตนาการไปด้วยเช่น การเชื่อมคำในภาษาอังกฤษกับภาษาไทย คำว่า Potato แปลว่ามันฝรั่ง อ่านว่า โพเทโท ส่วนคำในภาษาไทยที่ใช้เป็น Keyword คือ คำว่า โพ หรือ ต้นโพธิ์ เมื่อเราจำคำว่า Potato ให้เรานึกถึงต้นโพธิ์และมันฝรั่ง โดยจินตนาการว่ามีมันฝรั่งขึ้นอยู่ตามลูกตาเราและมีใบโพธิ์โผล่ขึ้นมา